Siamcoverage TH‎ > ‎

SACICT ชู “คุณค่า” ศิลปหัตถกรรมไทย ผนวกแนวคิดของนักออกแบบรุ่นใหม่ สร้างสรรค์หัตถศิลป์ไทยสู่สากล

posted Sep 18, 2019, 6:05 AM by siam coverage   [ updated Sep 18, 2019, 6:10 AM ]

สืบเนื่องในงานนิทรรศการ “หัตถกรรมแห่งบรรพชนไทย ใต้ร่มพระบารมี” ที่จัดแสดงผลงาน หัตถศิลป์ชั้นสูงหลากหลายแขนง นับตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยามาถึงกรุงรัตนโกสินทร์กว่า 500 ชิ้น ณ หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวการทรงงานในสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่แสดงถึง พระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชีวิตใหม่ให้อาณา ประชาราษฎร์ มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ด้วยงานศิลปหัตถกรรมพื้นถิ่น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น


นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) ได้เปิดเผยถึง แรงบันดาลใจในการจัดงานครั้งนี้ ที่ไม่เพียงสร้างความตระหนักรู้ถึงคุณค่าอันประเมินไม่ได้ของงานหัตถศิลป์ ไทย หากแต่ต้องการต่อยอด สร้างแรงบันดาลใจจากรุ่นสู่รุ่น หรือแม้กระทั่งจากไทยสู่โลก


นางอัมพวัน ยังเผยว่า “หากคุณค่าที่เรามองถึงงานหัตถกรรมคือ วัตถุดิบที่ใช้ แรงงานที่ใส่เข้าไป งานหัตถกรรมที่ทำขึ้นก็คงเป็นเพียงแค่หัตถกรรมเท่านั้น เราจะเห็นสมุดกระดาษสาที่เขียนไม่ได้ นี่คืองานหัตถกรรม แต่งานหัตถกรรมที่ดูแลรักษาคุณค่า คือ การดูแลรักษาจากรุ่นสู่รุ่นหัตถศิลป์ของ ชีวิตปัจจุบัน ต้องให้สอดคล้องกับชีวิตปัจจุบัน จึงจะเรียกได้ว่าเป็นหัตถกรรมอย่างแท้จริง”


​การชู “มูลค่า” กับ “คุณค่า” มารวมกัน ครู คือทักษะฝีมือเชิงช่าง ในขณะที่เรื่องแบบก็มีการพัฒนา SACICT จึงทำงานร่วมกับนักออกแบบรุ่นใหม่ และกลุ่มผู้ซื้อปลายทาง โดยนักออกแบบช่วยเปิดโลกทัศน์ ความคิด เช่น ถ้วยชามเบญจรงค์ 5 สี ก็อาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เช่น ของใช้ งานศิลปะติดฝาผนัง หรืออาจใช้มากกว่า 5 สี หรือดีไซน์เป็นแบบอื่น และสิ่งที่ต้องการย้ำคือ ต้องเป็นหัตถศิลป์ หัตถกรรมที่ใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ซึ่งต้องใช้ทักษะฝีมือ จึงเกิดนวัตกรรมการออกแบบขึ้นมา นางอัมพวัน กล่าวต่อว่า “สำหรับคนต่างชาติ อย่างแรกคือ เขาได้เห็นความงดงาม ได้เห็นศิลปะ ของคนไทยว่ามีความหลากหลายชาติพันธุ์ นี่คือความสามารถพิเศษของคนไทยจริง ๆ ที่ใช้ความรู้ ความสามารถสร้างขึ้นมาให้เกิดประโยชน์ ซึ่งต่างชาติให้ความสำคัญกับงานฝีมืออยู่แล้ว งานชาวเขาของเรา กับอินโดนีเซีย ละติน อเมริกา คล้่ายคลึงกัน แต่แตกต่างกันที่ลวดลาย นี่คือเสน่ห์ นอกจากนี้แต่ละภูมิภาค ของไทยก็ไม่เหมือนกัน เทรนด์โลกกำลังมาทางนี้ ปีหน้าจะเป็น heritage fusion ตามเทรนด์แฟชั่น ผ่านแอพลิเคชั่น ซึ่งไม่จำเป็นต้องตามมากจนเกินไป เพราะเราก็มีวิถีของเรา ความภาคภูมิใจก็จะกลับมา ทำให้เริ่มเห็นเด็กวัยรุ่นถือย่าม นุ่งผ้าซ่ินใส่เสื้่อยืด แล้วใส่รองเท้าผ้าใบ กลายเป็นแฟชั่นใหม่ของวัยรุ่น ที่พวกเขาภูมิใจ”


​การที่ SACICT ผลักดันศิลปหัตถกรรม ทำให้คนไทยหันมาใส่ใจเรื่องเหล่านี้ และอยากมีส่วนร่วม ในการใช้ในการรักษา ให้พวกเขาได้สืบสานต่อ มีความทันสมัยขึ้น ผู้ผลิตก็ปรับตัวให้เข้ากับผู้ซื้อ ขณะเดียวกัน ผู้ซื้อจากที่เคยเห็นว่าเป็นของคนรุ่นก่อน ก็เริ่มเข้ามาใช้ด้วย ช่องว่างของสองวัยในการใช้ศิลปหัตถกรรม ก็แคบลง
Comments