Siamcoverage TH‎ > ‎

"อีอีซีสเเควร์" ชลบุรี-ระยอง โชว์ศักยภาพอวดความสำเร็จ พร้อมขยายเครือข่ายทุกสังกัดการศึกษาปี 2563

posted Oct 27, 2019, 7:12 AM by siam coverage   [ updated Oct 27, 2019, 7:18 AM ]

"อีอีซีสเเควร์“ (EEC2 Environmental Empowerment CAMP & CONTEST)”  โครงการเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ซึ่งกำกับดูเเลโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างรอบด้าน ทั้งมิติเชิงวิทยาศาสตร์เเละมิติด้านสังคม ในเเง่มุมของการเรียนรู้การพัฒนาร่วมกันโดยเฉพาะครูเเละเยาวชนตามกรอบเเนวความคิดการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และโครงการเมืองการบินภาคตะวันออก (สนามบินอู่ตะเภา) ควบคู่กับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น โดยใช้กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education) ผ่านกิจกรรมค่ายฝึกอบรม (CAMP) และการประกวดโครงการ “การจัดการและพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น เพื่อรองรับการและตอบสนองต่อการขยายตัวในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออกอย่างมีส่วนร่วม” (CONTEST)


โดยเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรีเเละระยอง ถือเป็นพื้นที่สำคัญภาคตะวันออกที่มีศักยภาพด้านการเป็นเมืองอุตสาหกรรมการลงทุน ตลอดจนเป็นเมืองฐานการผลิตหลักของประเทศไทย เนื่องจากเป็นจังหวัดที่มีระบบคมนาคมครบวงจร ทั้งรถไฟความเร็วสูงเเละสนามบินนานาชาติ




ล่าสุดโครงการ อีอีซี สแควร์ ได้เปิดรับสมัครกลุ่มเยาวชนระดับมัธยมศึกษา แต่ละกลุ่มประกอบด้วยเยาวชน 3 คนและครูที่ปรึกษา 1 คน ในเขตจังหวัดชลบุรีและระยอง และคัดเลือกกลุ่มเยาวชนเพื่อเข้าร่วมโครงการเป็นรุ่นแรก จำนวน 15 โรงเรียน โดยเยาวชนทั้ง 15 โรงเรียนจะได้รับการเสริมสร้างความรู้ และการพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การทำงานเป็นทีม การเป็นนักสิ่งแวดล้อม และจากการจัดค่ายฝึกอบรม สร้างความเข้าใจและเสริมศักยภาพการทำงานด้านสิ่งแวดล้อม Environmental Empowerment CAMP เมื่อวันที่ 12-14 มิถุนายน 2562




โดยจัดอันดับความสำเร็จให้แก่กลุ่มที่มีผลการดำเนินงานเป็นที่ประจักษ์และมีความโดดเด่น 3 อันดับ คือ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนพานทองสภาชนูปถัมภ์ จังหวัดชลบุรี ซึ่งดำเนินโครงการเกี่ยวกับการลดการใช้ถุงพลาสติกภายในโรงเรียน โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของนักเรียนอย่างเป็นรูปธรรม และขยายผลการรณรงค์สู่ชุมชน
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง ซึ่งดำเนินโครงการเกี่ยวกับการศึกษา สำรวจระบบนิเวศและชุมชนบริเวณชายหาดสุชาดา พร้อมทั้งสร้างนวัตกรรมเครื่องมือเพื่อการเก็บขยะชายหาด และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการดูแลชายหาดร่วมกับชุมชน


รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ โรงเรียนมกุฎเมืองราชวิทยาลัย จังหวัดระยอง กลุ่มเยาวชนได้ใช้ความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์น้อยสอดแทรกกับกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ เพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์


โดย ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ในงานเเถลงข่าวความสำเร็จในครั้งนี้ ณ โรงแรม บางแสนเฮอริเทจ ได้กล่าวว่า ซึ่งโครงการ อีอีซี สแควร์ นั้น จัดว่าเป็น เครื่องมือหนึ่ง ในการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อการขยายตัวของอีอีซี ซึ่งมี เป้าหมายเพื่อสร้างการรับรู้และพัฒนาศักยภาพของเยาวชนผ่านกระบวนการเรียนรู้ และ การดาเนินกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน ท้องถิ่น สร้างรูปแบบการเติบโตแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสามารถตั้งรับปรับตัวกับ การพัฒนาเขตพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้อย่างเหมาะสม

กระบวนการและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่กลุ่มเยาวชนได้รับตั้งแต่กิจกรรมค่าย ฝึกอบรม จนมาถึงการลงมือปฏิบัติจริงผ่านโครงการที่ได้สร้างสรรค์ขึ้น นับว่าเป็นบทเรียน หนึ่งที่ช่วยบ่มเพาะและสร้างภูมิคุ้มกันด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับตนเอง ซึ่งในหลาย ๆ กลุ่ม 



ก็ได้ส่งต่อภูมิคุ้มกันนี้ไปยังชุมชนหรือบุคคลรอบข้าง นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีเพราะพวกเรา ทุกคนคือกาลังสาคัญในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตลอดจนการรับมือ กับปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต


"รางวัลที่ทุก ๆ ท่านได้รับในครั้งนี้ จะเป็นแรงผลักดันและ เป็นกาลังใจสำหรับคนทำงาน ในนามของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ขอแสดงความยินดีและขอขอบคุณทุก ๆ ท่าน ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง กับโครงการ อีอีซี สแควร์ และขอให้ทุกท่านไม่ว่าจะเป็นครูและนักเรียน ร่วมกันสร้าง ความเข้มแข็งของพวกเราให้เป็นเครือข่ายที่เหนียวแน่น พร้อมที่จะสร้างสรรค์สิ่งดี ๆ ให้ เกิดขึ้นไปพร้อมกับเขตพัฒนาพิเศษต่อไป ขอบคุณครับ" ดร.คณิศ กล่าว


สำหรับโครงการอีอีซี สแควร์ ในครั้งนี้ เป็นก้าวแรกของความสำเร็จ จาก 15 โรงเรียนนำร่อง ทั้ง 15 กลุ่มต้นเเบบ ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนสังคมเเละสิ่งเเวดล้อมที่ยั่งยืนตามกรอบเเนวคิดเป้าหมายในการขยายเครือข่ายเยาวชนที่ครอบคลุมทุกสังกัดการศึกษาในปี 2563 ซึ่งเปรียบเสมือนจิ๊กซอว์สำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศที่ยั่งยืนต่อไป
Comments